วันศุกร์ที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน หมายถึง  การดำเนินการตามขั้นตอนของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน  5  ขั้นตอนที่บูรณาการกับนโยบาย  3 D  ของรัฐบาล  โดยดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การรู้จักนักเรียนรายบุคคล
          เป็นการจัดทำแฟ้มข้อมูลรายบุคคลของนักเรียนทุกคน  ตั้งแต่แรกเข้าเรียนจนจบการศึกษา
จากโรงเรียน  ภายในแฟ้มข้อมูลประกอบด้วยเอกสารสำคัญแสดงข้อมูลต่าง ดังนี้
1.       แบบสำรวจข้อมูลทั่วไปและทะเบียนบ้าน แสดงข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับนักเรียนและสภาพครอบครัว
2.       แบบรายงานผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนรายบุคคล เป็นข้อมูลด้านการเรียนของนักเรียนในแต่ละ
ปีการศึกษา
3.       ระเบียนสะสม  ประกอบด้วยข้อมูลส่วนตัว  ครอบครัว  การศึกษา  สุขภาพ  พฤติกรรมและบุคลิกภาพของนักเรียน
4.       บัตรบันทึกสุขภาพประจำตัวนักเรียน  เป็นข้อมูลด้านสุขภาพ          
5.       แบบบันทึกการเยี่ยมบ้าน ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป สภาพครอบครัว ฐานะทางเศรษฐกิจ พฤติกรรมของผู้เรียนขณะอยู่บ้าน และภาพถ่ายที่อยู่อาศัย
6.       แบบสำรวจลีลาการเรียนรู้ของผู้เรียน  เป็นข้อมูลพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนรายบุคคล
7.       แบบประเมินตนเอง ( SDQ ) ฉบับฉบับนักเรียน  ฉบับครู  และฉบับผู้ปกครอง เป็นข้อมูลด้าน
สุขภาพจิต
8.       แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ ( EQ ) เป็นข้อมูลด้านอารมณ์และความรู้สึกของนักเรียน
9.       แบบคัดกรองนักเรียนและแนวทางการช่วยเหลือ  เป็นแบบสรุปผลการคัดกรองผู้เรียนในด้าน
การเรียน  ความสามารถ  สุขภาพกาย สุขภาพจิต  ความประพฤติ เศรษฐกิจ การคุ้มครองนักเรียน และด้านอื่น เช่น การใช้สารเสพติด การมีเพศสัมพันธ์
ขั้นตอนที่ 2 การคัดกรองนักเรียน
          ดำเนิน การคัดกรองโดยใช้ข้อมูลทั้งหมดจากแฟ้มข้อมูลนักเรียนตามขั้นตอนที่ 1 ผนวกกับการสัมภาษณ์ การสังเกตพฤติกรรมนักเรียน ทำให้สามารถคัดกรองนักเรียนออกเป็น 3 กลุ่ม ในแต่ละด้านดังนี้
รายการคัดกรอง
ผลการคัดกรอง
จำนวน(คน)
ด้านการเรียน
กลุ่มปกติ
0
กลุ่มเสี่ยง
0
กลุ่มมีปัญหา
0
ด้านสุขภาพ
กลุ่มปกติ
0
กลุ่มเสี่ยง
0
กลุ่มมีปัญหา
0
ด้านครอบครัว
(
เศรษฐกิจ )
กลุ่มปกติ
0
กลุ่มเสี่ยง
0
กลุ่มมีปัญหา
0
ด้านพฤติกรรม
ที่ไม่พึงประสงค์
กลุ่มปกติ
0
กลุ่มเสี่ยง
0
กลุ่มมีปัญหา
-

ขั้นตอนที่ 3 การส่งเสริม
          เป็นการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของนักเรียนทั้งในกลุ่ม ปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มมีปัญหา โดยการจัดกิจกรรมและโครงการตามแนวนโยบาย 3 D ของรัฐบาล  ดังนี้
1.       กิจกรรมส่งเสริมศักยภาพของผู้เรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้าน ประชาธิปไตย ( Democracy ) โดยเน้นให้ผู้เรียนมีวิถีชีวิตประชาธิปไตย มีปัญญาธรรม คารวะธรรม และสามัคคีธรรม ได้แก
·       การจัดการเรียนรู้ในห้องเรียนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
·       โครงการส่งเสริมประชาธิปไตยในโรงเรียน
·       โครงการค่ายบูรณาการการเรียนรู้
·       โครงการพัฒนาศักยภาพทางวิชาการในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คณิตศาสตร์
วิทยาศาสตร์ และภาษาอังกฤษ
·       โครงการลูกเสือ - เนตรนารี
2.       กิจกรรมส่งเสริมศักยภาพของผู้เรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านคุณธรรมจริยธรรมและความเป็นไทย ( Decency ) ได้แก่
·       กิจกรรมโฮมรูม
·       โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ
·       โครงการสืบสานวัฒนธรรมไทย
·       โครงการค่ายบูรณาการการเรียนรู้
·       กิจกรรมเยาวชนจิตอาสา
3.       กิจกรรมส่งเสริมศักยภาพของผู้เรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ด้านภูมิคุ้มกันภัยจากยาเสพติด ( Drug-Free ) ได้แก่
·       โครงการโรงเรียนสีขาว
·       โครงการส่งเสริมกีฬา
·       กรีฑานักเรียน
·       โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ
·       กิจกรรม To be number one
·       กิจกรรมชุมนุมกลุ่มสนใจ
·       กิจกรรมส่งเสริมความสามารถด้านดนตรี
·       กิจกรรมส่งเสริมความสามารถด้านนาฎศิลป์
·       กิจกรรมส่งเสริมความสามารถด้านศิลปะ
·       กิจกรรมประชุมผู้ปกครองในชั้นเรียน Classroom meeting
·       โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
·       โครงการเกษตรธรรมชาติ
·       โครงการเรารักษ์สิ่งแวดล้อม
·       กิจกรรมเยาวชนจิตอาสา 
ขั้นตอนที่ 4 การป้องกันและแก้ไขปัญหา
          เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นสำหรับนักเรียนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มมีปัญหา ได้แก่
1.       การให้คำปรึกษา
2.       การสอนซ่อมเสริม
3.       การเยี่ยมบ้านเพื่อสื่อสารกับผู้ปกครอง
4.       กิจกรรมการสร้างเครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน
5.       การศึกษาเป็นรายกรณี ( Case Study)
6.       การทำวิจัยในชั้นเรียน
ขั้นตอนที่ 5 การส่งต่อนักเรียน
          การส่งต่อนักเรียนเป็น ขั้นตอนการดำเนินการกรณีที่นักเรียนต้องการความช่วยเหลือ หรือการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนขึ้น ซึ่งครูประจำชั้นไม่สามารถดำเนินการได้ มี 2 ลักษณะ ได้แก่
1.       การส่งต่อภายใน
·       กรณีมีพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ จะส่งต่อฝ่ายปกครอง หรือผู้บริหารโรงเรียน
·       กรณีมีปัญหาด้านสุขภาพ ส่งต่อครูอนามัยโรงเรียน
·       กรณีมีปัญหาด้านสุขภาพจิต ส่งต่อครูแนะแนว
·       กรณีมีปัญหาด้านการเรียน ส่งต่อครูผู้สอนรายวิชาที่นักเรียนมีปัญหา
2.       การส่งต่อภายนอก เพื่อส่งไปยังผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ได้แก่
·       กรณีมีปัญหาด้านการเรียนรู้ ส่งต่อโรงพยาบาลจิตเวชเพื่อค้นหาสาเหตุ
·       กรณีมีปัญหาด้านสุขภาพ ส่งต่อสถานีอนามัยหรือโรงพยาบาล
·       กรณีมีปัญหาด้านเศรษฐกิจ ส่งขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่าง เช่น องค์การบริหารส่วนตำบลหนองสรวง สภากาชาดจังหวัดนครราชสีมา วัดหนองสรวง และผู้มีจิตศรัทธา


                                                                                      โดย:nutpaphus

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น